มณฑลภูเก็ต
แต่ เดิมภูเก็ตซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าเรือ เป็นเมืองขึ้นตรงต่อเมืองถลาง และเมืองถลางขึ้นตรงต่อเมืองตะกั่วทุ่ง เมืองตะกั่วทุ่งขึ้นตรงต่อเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยกรุงสุโขทัย เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองท้าวพระยามหานคร ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ยังรุ่งเรือง และเป็นหัวเมืองเอกในสมัยต่อมา
ในสมัยกรุศรีอยุธยาเข้าใจว่า เมืองถลางบางคลี เป็นหัวเมืองที่สำคัญ มีเมืองชายฝั่งทะเลฝั่งทะเลตะวันตกขึ้นตรงต่อเมืองนี้ ในสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองถลางเป็นเมืองขึ้นตรงต่อ เมืองตะกั่วทุ่งบางคลี ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองฝั่งทะเลด้านตะวันตกเข้าใจว่าตั้งเมืองอยู่ที่เมือง ตะกั่วทุ่ง ในสมัยราชการที่ ๑ โปรดให้เจ้าพระยาสุรินทราชา เป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมืองทั้ง ๘ คือ เมืองถลาง เมืองภูเก็ต เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองพังงา เมืองก็รา เมืองคุรา เมืองคุรอด
หัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตก ก็คงจะมีผู้สำเร็จราชการมาตั้งแต่นั้นจนถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดฯให้จัดมณฑลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๖ โปรดฯให้เป็นข้าราชการสังกัดในพระราชสำนัก ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะคล้ายนายกรัฐมนตรี และเพื่อให้มั่นในคติที่ว่า ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นตัวแทนของข้าราชการแผ่นดินทั่วไปมิใช่กระทรวงใดกระทรวง หนึ่งโดยเฉพาะ และฐานะหน้าที่ของมณฑลก็คล้าย ๆกับสาขาที่สองซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงต่าง ๆ
สำหรับ มณฑลภูเก็ตก่อน พ.ศ. ๒๓๓๕ เรียกว่า มณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการ เก็บเงินแผ่นดิน ในตอนที่เปลี่ยนจากหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันตกเป็นมณฑลนั้น มีพระยาทิพย์โกษา (หมาโต โชติกะเสถียร) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลผู้สำเร็จราชการมณฑล ตั้งที่ทำการอยู่ที่เมืองภูเก็ต สมัยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยอยู่นั้น ได้แก้ไขจัดระเบียบมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตกในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ คือมณฑลภูเก็ตให้เข้ารูปเข้ารอย มณฑลนี้ประกอบด้วยเมืองต่างๆ ๗ เมืองด้วยกัน คือเมืองภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ตะกั่วป่า พังงา และระนอง สำหรับตำแหน่งข้าหลวง เทศาภิบาลนั้น ได้เปลี่ยนเป็นสมุหเทศาภิบาลในรัชกาลที่ ๖ และตำแหน่งนี้ได้ยุบเลิกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ส่วนเมืองภูเก็ตก็ยังมีผู้ว่าราชการภูเก็ตเป็นเจ้าเมือง
: สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
|