Bookmark and Share Add to Favorites  
ภูมิอากาศจังหวัดภูเก็ต
  ความเร็วลมทั่วโลก
  สภาพอากาศจังหวัดภูเก็ต
  Phuket Weather Today
  10 Day Weather Forcast for Phuket
  สภาพอากาศภาคใต้ฝั่งตัวันตก
  การเปลี่ยนองศา
แผ่นดินไหวและสึนามิ
  กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
  เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ
  คลื่นยักษ์สึนามิถล่มภูเก็ต - You Tube
  แผ่นดินไหวทั่วโลก (USGS)
รวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูเก็ต
  PHUKET HERITAGE
  ทำเนียบสายตระกูล ณ ระนอง
สถาบันอุดมศึกษาในภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  วิทยาลัยสารพัดช่างภูเก็ต
โรงเรียนในภูเก็ต
  โรงเรียนดาวรุ่งวิทยา
  โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว
  โรงเรียนพุทธมงคลนิมิตร
  โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต
  โรงเรียนราไวย์เรืองวิทย์
  โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต
  โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง
  โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคม
บริการวิชาการ
  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
  สนง.วัฒนธรรมภูเก็ต
  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.ภูเก็ต
ค้นข้อมูลจากหอสมุด
  Library of Congress
  The British Library
  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  มหาวิทยาลัยมหิดล
ค้นเอกสาร
  พระราชบัญญัติ
  ราชกิจจานุเบกษา
สถาบันศาสนา
  @ พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี
เว็บเครือข่าย
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  สมบูรณ์อินโฟ
  ตระกูลแซ่หลิน
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
.

ลักษณะธรณีสัณฐาน

 

 

        พื้นที่ของเกาะภูเก็ต ประกอบด้วยหินยุคต่างๆตามลักษณะธรณีวิทยา ประกอบด้วยหินที่เรียกว่า หินชุดภูเก็ต มีหินโคลนปนกรวด หินทราย หินดินดาน เช่นบริเวณแหลมพันวา แหลมตุ๊กแก ฯลฯ ชุดหินแกรนิต เป็นบริเวณกว้างใหญ่ตั้งแต่ทางทิศใต้ของเกาะฝั่งตะวันตกปลายแหลมพรหมเทพ ตลอดชายฝั่งทะเลไปกลางเกาะ แล้วพาดขึ้นไปทางทิศเหนือ จนถึงภูเขาบางดุก บ้านไม้ขาว อำเภอถลาง หินชุดนี้เป็นบ่อเกิดของสินแร่ที่สำคัญ คือ แร่ดีบุก

        หินแกรนิตบริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันตก เมื่อผุพังลงนานเข้า ถูกน้ำทะเลกัดเซาะของคลื่น ลม ทำให้เกิดตะกอนทรายสีขาว เมล็ดทรายสีขาว ดังนั้นชายหาดฝั่งทะเลตะวันตก จึงเป็นชายหาดสีขาว รวมทั้งบางเกาะทางทิศใต้ด้วย คือ หาดทรายเกาะรายาใหญ่เกาะรายาน้อย และเกาะอื่นๆในแถบนี้

        ดังนั้นพื้นที่ธรณีสัณฐานของภูเก็ต ที่เห็นเด่นชัด มีดังนี้

 

๑)   พื้นที่ภูเขา  ซึ่งอยู่บริเวณตั้งแต่ปลายแหลมพรหมเทพ ขึ้นไปทางทิศเหนือ ตลอดทั้งเกาะ จนถึงเขตอำเภอถลาง ถึงเขตบางเทา แล้วแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนตะวันออกของเกาะตั้งแต่เขาพระแทวและเขตตะวันตก เป็นพืดเขาตั้งแต่บ้านดอนไปจึงถึงบ้านสาคู บ้านไม้ขาว ส่วนทิศใต้ของเกาะบริเวณเขาขาด ถึงแหลมพันวา และภูเขาบนเกาะสิเหร่  บริเวณหน้าผาบางแห่ง มีร่องรอยของน้ำทะเลเคยขึ้นถึง

        ภูเขาที่สูงที่สุด คือ ภูเขาไม้เท้าสิบสอง  สูง ๕๒๙ เมตร บ้านป่าตอง ภูเขาควนคาบ้านกะทู้สูง ๕๒๗ เมตร  ภูเขาเก็จหนีบ้านกมลาสูง ๕๐๓ เมตร ภูเขาบางเหนียวดำสูง ๔๗๖ เมตร ภูเขาพาราสูง ๔๕๐ เมตร ภูเขาบางโรงสูง ๔๔๘ เมตร ภูเขาไทรเหมือน บ้านกะรนสูง ๓๕๐ เมตรภูเขากระบกบ้านกะรนสูง ๔๔๖ เมตร ภูเขาพระแทวสูง ๓๖๖ เมตร ภูเขาม่าหนิกเขตกะทู้สูง ๓๕๗ เมตร ภูเขาบางม่วงบ้านสาคูสูง ๓๓๕ เมตร ภูเขานางพันธุรัตน์สูง ๓๒๕ เมตร ภูเขานากเกิด บ้านกะตะสูง ๓๑๘ เมตร ภูเขาพรุเรือนบ้านใสยวนสูง ๓๑๗ เมตร ภูเขาบ้านในทอนสูง ๓๐๗ เมตร ภูเขาในหานสูง ๓๐๖ เมตร ภูเขาบ้านนาคาเลสูง ๓๐๓ เมตร ภูเขาโต๊ะแซะสูง ๒๘๕ เมตร ภูเขาบางดุกไม้ขาวสูง ๒๖๗ เมตร ภูเขาบ้านเกาะแก้วไม้เรียบสูง๒๖๗ เมตร ภูเขากะตะสูง ๒๔๗ เมตร ภูเขาตาเกลี้ยงบ้านสาคูสูง ๒๒๘ เมตร ภูเขาบ้านสามแหลมสูง ๒๐๘ เมตร ภูเขาบ้านบ่อแร่สูง๑๗๒ เมตร ภูเขาแหลมไทรสูง ๑๑๑ เมตร  

 

๒)   หน้าผา   บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกของภูเก็ต ตั้งแต่แหลมพรหมเทพขึ้นไปทางทิศเหนือตลอดแนว มีหน้าผาสูงชัน ผ่านบ้านใสยวน แหลมลำเจียก บ้านนาคาเล จนถึงแหลมสิงห์ใกล้หาดสุรินทร์ ถึงแม้บางช่วงมีหาดทรายสีขาว บางช่วงมีเพียงโขดหิน จนถึงบ้านในทอน ส่วนชายฝั่งทะเลตะวันออกของตัวเกาะ มีหน้าผาตั้งแต่ทิศเหนือบริเวณบ้านสามแหลม ลงมาจนถึงเกาะสิเหร่ บริเวณแหลมพันวา เขาขาด เช่นเดียวกันบางช่วงมีหาดทราย พื้นที่ราบป่าชายเลน

 

๓)   หินใต้น้ำ   พื้นที่บางส่วนของเกาะภูเก็ตที่เป็นหน้าผา มีหินใต้น้ำ จะมองเห็นในช่วงน้ำลง เป็นหย่อมเป็นพืด แต่บางแห่งจะมองไม่เห็น  เช่น บริเวณหาดราไวย์ หาดกะหลิม ป่าตอง ที่มีมากที่สุดคือบริเวณแหลมพันวาทั้งสองด้าน จนถึงอ่าวมะขาม เลยไปถึงเกาะสิเหร่บริเวณแหลมตุ๊กแกและแหลมหงา 

 

๔)   หินโสโครก  รอบเกาะภูเก็ตที่มีแนวหินโสโครก ที่เห็นชัดได้แก่บริเวณชายหาดราไวย์ บริเวณบ้านสามแหลมใกล้เกาะเฮ เป็นต้น ซึ่งเป็นเขตอันตรายในการเดินเรือ

 

๕)   พืดหินปะการัง   เกิดขึ้นบริเวณรอบนอกของเกาะภูเก็ต พืดหินเหล่านี้เกิดขึ้นจากการก่อตัวของสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ด้วยการใช้สารแคลเซียมคาร์บอเนตที่ละลายอยู่ในน้ำทะเล เป็นโครงสร้างของตัวมัน ถ้าหากบริเวณนั้นมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีแร่ธาตุที่ต้องการนำมาสร้างตัวอุดมสมบูรณ์ บริเวณนั้นก็จะเกิดลานปะการังขึ้นต่อกันเป็นพืด พืดปะการังเหล่านี้บางส่วนโผล่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ ในช่วงน้ำลง ถ้าเป็นเวลานาน ตัวสัตว์เหล่านั้นก็จะตายหมด ทำให้พวกสาหร่ายบางชนิดพากันเจริญเติบโตเหนือยอดหินปะการัง

         พืดหินปะการังเจริญเติบโตได้ดีเฉพาะบริเวณที่มีน้ำทะเลใส สะอาด และน้ำค่อนข้างอุ่น แสงแดดส่องถึงพื้นล่างได้ดี ซึ่งมีความลึกสุดประมาณ ๕๐ เมตร แต่สภาพปัจจุบัน น้ำทะเลค่อนข้างขุ่น มีตะกอนบนบกไหลลงไปมาก และมีตะกอนแขวนลอย พวกทรายละเอียด และทรายแป้ง ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องทะลุลงไปได้

 

๖)   พื้นที่ลอนคลื่น  เป็นพื้นที่ราบและหุบเขาสูงๆต่ำๆ บางส่วนเกิดจากที่ราบติดเชิงเขา ออกไปจนถึงชายฝั่งทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต โดยเริ่มตั้งแต่ทางทิศใต้ตั้งแต่หาดราไวย์ บ้านฉลอง บ้านป่าหล่าย บ้านแหลมชั่น บริเวณตัวเมืองภูเก็ต บ้านกู้กู บ้านเกาะแก้ว บ้านสะปำ บ้านลิพอน บริเวณตัวเมืองถลาง บ้านดอน บ้านพรุจำปา พรุสมภาร เลียบเชิงเขานางดุกและเชิงเขาพระแทว จนถึงบ้านไม้ขาว

 

๗)   พื้นที่ราบลุ่ม   เป็นพื้นที่ราบชายฝั่ง ที่เป็นส่วนรอยต่อระหว่างพื้นที่ลอนคลื่นกับพื้นที่ที่น้ำทะเลขึ้นถึง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ ตั้งแต่ตำบลฉลองบริเวณบ้านใสยวน บ้านโคกโตนด บ้านป่าหล่าย บ้านแหลมชั่น บ้านบ่อแร่ฝั่งตะวันออก จนถึงสะพานหิน จากชายฝั่งทะเลบ้านกู้กูบ้านเกาะแก้ว บ้านสะปำ บ้านท่าเรือ จนถึงแหลมยามู ส่วนชายฝั่งทะเลตะวันตกของเกาะ บริเวณชายฝั่งบ้านบางเทา อำเภอถลาง เลพัง บ้านดอน เป็นต้น

 

๘)   พื้นที่น้ำทะเลขึ้นถึง  เป็นบริเวณที่เกิดจากบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นหาดโคลน หรือป่าชายเลนหรือป่าพังกา มีไม้โกงกาง ไม้แสม เป็นพื้น เช่นบริเวณบ้านแหลมชั่นคลองมุดง บ้านป่าหล่าย บ้านเกาะแก้ว บ้านท่าเรือ บ้านป่าคลอก บ้านบางโรง บ้านผักฉีด และตลอดฝั่งตั้งแต่บ้านสามแหลมจนถึงบ้านไม้ขาว ท่าฉัตรไชย

 

๙)   หาด สันดอน   พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกตั้งแต่แหลมพรหมเทพขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นพื้นที่ภูเขา หน้าผา ซึ่งเป็นหินแกรนิต เมื่อถูกคลื่นซัดในช่วงฤดูพายุ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดตะกอนและเม็ดกรวดทรายละเอียด สีขาวบริเวณชายฝั่ง จึงเป็นหาดทรายสีขาวที่สวยงาม บางหาดมีสันดอน เช่น หาดกะตะ หาดกะรน หาดกมรา หาดในยาง หาดไม้ขาว หาดทรายเหล่านี้ จะอยู่ด้านนอกสุด มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๑ – ๒ เมตร แต่บางพื้นที่มีหาดทรายโบราณที่อยู่ลึกเข้าไปอีก จากหาดทรายในปัจจุบัน เช่น บริเวณหาดทรายในยาง หาดไม้ขาว เป็นต้น

        สันดอน   เกิดจากการสะสมของตะกอนทรายนอกชายฝั่งทะเล หรือเกิดจากตะกอนทรายชายฝั่งแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเล บางแห่งจึงก่อให้เกิด ลากูน ขึ้น เช่น หาดในหาน 

        สันดอนจะงอย   เกิดจากกระแสน้ำไหลขนาบชายฝั่งทะเล ด้วยการนำตะกอนมาสะสม จนนานเข้า เป็นสันดอนจะงอย ซึ่งเป็นสันดอนจะงอยด้านในและสันดอนจะงอยด้านนอก สันดอนจะงอยด้านนอกได้แก่ บริเวณท่าฉัตรไชย

 

๑๐)    พื้นที่ความลาดชันใต้น้ำ   พื้นที่ความลาดชันรอบตัวเกาะที่อยู่ใต้ทะเล มีระดับต่างกัน พื้นที่ลาดชันบริเวณหน้าผาแหลมไทร จะลึกมากที่ ๑๘ เมตรถึง ๓๖ เมตร บริเวณอ่าวป่าตองพื้นที่ลาดชันระดับที่ ๑๐ เมตร ๑๘ เมตร เลยปากอ่าวป่าตองออกไป จะลึกประมาณ ๓๖ เมตร ซึ่งต่างจากพื้นที่อ่าวกะรน หาดกะตะ หาดกะรนที่ลาดชันระดับ ๑๘ เมตร บริเวณหาดสุรินทร์ มีพื้นที่ลาดชันเกือบชิดหาด ที่ ๑๘ เมตร ถึง ๓๖ เมตร บริเวณอ่าวราไวย์และพื้นที่รอบเกาะโหลน มีความลึกที่ ๑๐ เมตร รอบเกาะแก้วมีความลึกที่  ๑๘ เมตรและ ๓๖ เมตร  ส่วนบริเวณหาดในยางไปจนถึงหาดท่าฉัตรไชย ความชันอยู่ที่ระดับ ๑๐ – ๑๘ เมตร พื้นที่ใต้น้ำที่ความลึกประมาณ ๕๐ เมตรนอกชายฝั่งตะวันตกบางส่วนเป็นทรายปนโคลน 

 

๑๑)   น้ำขึ้น – น้ำลง  น้ำขึ้นน้ำลงรอบเกาะภูเก็ต ได้รับอิทธิพลจากแรงดึงดูดของโลก ที่สัมพันธ์กับการโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ จึงทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงในแต่ละวัน แตกต่างกัน ความแตกต่างระหว่างน้ำทะเลขึ้นสูงสุด กับน้ำทะเลลงต่ำสุด หรือในช่วงน้ำลง ตั้งแต่ระดับ ๒ – ๔ เมตร ช่วงน้ำขึ้นน้ำลงรอบเกาะภูเก็ต โดยเฉลี่ยแล้ว ๒.๕ ถึง ๓.๕ เมตร เป็นระบบน้ำคู่ คือ น้ำขึ้นและน้ำลงวันละ ๒ ครั้ง และมีระดับไม่เท่ากัน

        ตัวอย่างน้ำขึ้นน้ำลงข้อมูลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ สำรวจที่เกาะตะเภาน้อย ภูเก็ต ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดของระดับน้ำวัดจากเหนือระดับน้ำลงต่ำสุด

        ปีพ.ศ.๒๕๕๑  ระดับสูงสุดและต่ำสุดเป็น เมตร  โดยเฉลี่ยแล้วปีนี้ ระดับน้ำขึ้นสูงสุด ๓.๑๓ เมตร และน้ำลงต่ำสุด ๐.๙๘ เมตร

                      สูงสุด                  ต่ำสุด

มกราคม            ๓.๐                    ๐.๙

กุมภาพันธ์         ๒.๖                    ๐.๙๕

มีนาคม             ๓.๐๘                  ๐.๗๖

เมษายน            ๓.๑๕                  ๐.๙๕

พฤษภาคม         ๓.๒๓                  ๑.๑๗ 

มิถุนายน            ๓.๒                    ๑.๑๘

กรกฎาคม           ๓.๒๓                  ๑.๐๖

สิงหาคม            ๓.๒                    ๐.๘๓

กันยายน            ๓.๒                    ๐.๘๓

ตุลาคม              ๓.๑๘                 ๑.๐๕

พฤศจิกายน        ๓.๒๕                 ๑.๐๕

ธันวาคม            ๓.๑๘                 ๑.๐๒                              

       

        ในสมัยทวารวดี ประมาณพ.ศ. ๑๒๐๐ ระดับน้ำทะเล บริเวณอ่าวไทย สูงประมาณ ๓.๕ – ๔ เมตร นั่นก็คือ พื้นที่ราบภาคกลางเกือบทั้งหมด นับตั้งแต่สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นนทบุรี กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา ขึ้นไปจนถึงลพบุรี เป็นท้องทะเลทั้งหมด ดังนั้น เมืองภูเก็ต รวมทั้งพื้นที่ชายฝั่งเกาะภูเก็ตที่ระดับต่ำกว่า ๓.๕ – ๔ เมตร จึงเป็นทะเลเช่นเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า ก่อน ค.ศ. ๒๑๐๐ น้ำทะเลจะท่วมทั่วโลกสูง ประมาณ ๒ เมตร พื้นที่เกาะภูเก็ตในระดับน้ำทะเลดังกล่าวจึงน่าจะหายไปส่วนหนึ่ง

 

๑๒)    กระแสน้ำ   ในช่วงน้ำขึ้น – น้ำลง จะเกิดกระแสน้ำไหลเข้าชายฝั่งเกาะภูเก็ต และช่วงน้ำลง กระแสน้ำจะไหลออกจากชายฝั่ง ทั้งบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ตลอดจนปากคลองต่างๆ ในช่วงน้ำไหลออก กระแสน้ำจะไหลเร็วมากกว่าในช่วงน้ำขึ้น

 

๑๓)    แนวรอยเลื่อนเปลือกโลก  เกาะภูเก็ต ตั้งอยู่บริเวณรอยเลื่อนของเปลือกโลก ระหว่างรอยเลื่อนระนองกับรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย หรือคลองมรุ่ย  แต่อยู่ตรงรอยเส้นคลองมรุ่ยที่ลากผ่านทางทิศใต้ของตัวเกาะภูเก็ตเข้าทะเลภูเก็ต ไปทะเลพังงา ไปออกคลองมรุ่ย   เกาะภูเก็ตจึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินยุบ แผ่นดินไหวได้

 

๑๔)    กรณีแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ   เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เวลา ๐๗.๕๘.๕๐ นาฬิกา ได้เกิดแผ่นดินไหว ๙ ริกเตอร์ (แม็กนิจูด เสกล) บริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ พัดเข้าชายฝั่งทะเลอันดามัน กระทบต่อฝั่งทะเลตะวันตกของเกาะภูเก็ต ที่มีคลื่นสูง ๑๐ เมตร หรือ ๓๓ ฟุต เพราะภูเก็ตอยู่ห่างจากสุมาตราประมาณ ๔๕๐ กิโลเมตร และอยู่ในวิถีการเคลื่อนตัวของคลื่นยักษ์สึนามิ จึงทำให้คนไทยและชาวต่างชาติเสียชีวิต ๖,๘๐๐ คน ได้รับบาดเจ็บ ๘,๔๕๗ คน สูญหาย ๓,๑๘๐ คน ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า ๒๙,๐๐๐ คน หลายประเทศได้รับผลกระทบในครั้งนั้น รวมแล้ว ผู้เสียชีวิต ๑๔๐,๐๘๒ คน คาดว่ากว่า ๑๖๐,๐๐๐ คน ได้รับบาดเจ็บ ๕๑๐,๐๐๐ คน สูญหายกว่า ๒๒๐๐๐ คน ไร้ที่อยู่ประมาณ ๓ – ๕ ล้านคน

        จากรายงานสุดท้ายว่า ความแรง ๙ ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ ๓.๒๙๘ องศาเหนือ ๙๕.๗๗๙ องศาตะวันออกอยู่ห่างจากฝั่งตะวันตกของสุมาตรา ๑๙๐ กิโลเมตร ในความลึก ๑๐ กิโลเมตร

 

        สึนามิ   เกิดขึ้นจาก คลื่นในมหาสมุทร เมื่อจำนวนน้ำทะเลในมหาสมุทรเกิดการเปลี่ยนฉับพลันด้วยแผ่นดินไหว หรือ การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วบริเวณใต้น้ำหรือผิวน้ำ  ไม่ว่าจะเป็นภูเขาไฟระเบิด ใต้พื้นน้ำระเบิด การเคลื่อนไหวของแผ่นดิน แผ่นดินไหวใต้น้ำ ลูกอุกกาบาดวิ่งเข้าชนโลก หรือการทดลองนิวเคลียร์ เหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูพายุ ที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์เข้ากระทบฝั่งสูงหลายเมตร คล้ายสึนามิ แต่มิใช่เป็นสึนามิ

 

๑๕)    หลุมยุบ   ด้วยเหตุที่เกาะภูเก็ตอยู่ในเขตรอยเลื่อนของโลก โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวมีสูง เมื่อแผ่นดินเคลื่อนตัว จึงทำให้เกิดหลุมยุบ เช่น ระหว่างวันที่ ๒๖ธันวาคม ๒๕๔๗ ถึง วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐  เกิดหลุมยุบที่ ตำบลฉลอง มีความลึกประมาณ ๒ เมตร กว้าง ๗๐ เซนติเมตร ที่อำเภอถลาง ขนาด ๑xx๐.๕ เมตร ส่วนที่จังหวัดกระบี่เกิดหลุมลึกไม่ต่ำกว่า ๑๕ แห่ง มีขนาดแตกต่างกัน

 

 

 

  บรรณานุกรม

 

งามพิศ แย้มนิยม (๒๕๔๓)  ทรัพยากรแร่ในประเทศไทย  พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพฯ : กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี

 

จังหวัดพังงา (แผนที่) (๒๕๒๘)  มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐  กรมแผนที่ทหาร  กองบัญชาการทหารสูงสุด

 

จังหวัดภูเก็ต (แผนที่) (๒๕๒๘)  มาตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐  กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด

 

โพยม อรัญณยกานนท์ (๒๕๒๘) เพชรในเมืองไทย (เอกสารสำหรับประชาชน ฉบับที่ ๓๒) กองเศรษฐกิจและเผยแพร่ กรมทรัพยากรธรณี

 

รายงานกิจการจังหวัดภูเก็ตประจำปี ๒๕๑๑ (๒๕๑๓)  จังหวัดภูเก็ต  พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น

 

รายงานกิจการจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๐๒ (๒๕๐๓)  จังหวัดภูเก็ต  พระนคร :  วีระสัมพันธ์

 

แร่ (๒๕๑๐)  (เอกสารสำหรับประชาชน ฉบับที่ ๑๓) พิมพ์ครั้งที่ ๒  พระนคร : กรมทรัพยากรธรณี

 

วิโรจน์ ดาวฤกษ์ (๒๕๒๘) "สภาพธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ของเกาะภูเก็ต" รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง  ภูเก็ต

 

สมบูรณ์ แก่นตะเคียน (๒๕๒๘) "ชื่อ "ถลาง" และ "ภูเก็ต"  รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์ถลาง  ภูเก็ต

 

สิน สินสกุล (๒๕๓๓)  "ธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเลอันดามัน ฝั่งตะวันตกของแหลมไทยภาคใต้"  วารสารภูมิศาสตร์ ๑๕(๒) : กรกฎาคม หน้า ๒๙๒ - ๓๑๕

 

สิน สินสกุล (๒๕๓๕)  ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม บริเวณแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และชายฝั่งทะเล จังหวัดพังงา - กระบี่ งานธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม ฝ่ายธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี

 

Phuket. ( n.d.)  Road map 1 : 80,000 . ( Windows : the World Map Series ) 5 languages , Germany : Berndtson & Berndtson ( Laminated map )

 

 

         :    สมบูรณ์ แก่นตะเคียน    ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

           

 

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน
หน่วยงานของรัฐ
  สกสค. ภูเก็ต
  ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต
  อบจ. ภูเก็ต
  สนง.เขตการศึกษาภูเก็ต
  เทศบาลนครภูเก็ต
  เทศบาลเมืองกะทู้
  เทศบาลเมืองป่าตอง
  เทศบาลตำบลวิชิต
  เทศบาลตำบลรัษฎา
  เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี
  เทศบาลตำบลฉลอง
  เทศบาลตำบลศรีสุนทร
  อบต.สาคู
  อบต.เกาะแก้ว
  ขนส่งจังหวัดภูเก็ต
โรงพยาบาล
  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
  โรงพยาบาล อบจ.ภูเก็ต
  โรงพยาบาลถลาง
  โรงพยาบาลสิริโรจน์
  โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
  โรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต
เที่ยวภูเก็ต
  ภูเก็ตท่องเที่ยว
  แอร์เอเชีย
  บางกอกแอร์
  การบินไทย
  นกแอร์
  โอเรียนท์ไทย
แลกเปลี่ยนเงินตราและหุ้น
  ตลาดหลักทรัพย์-หุ้น
  ตลาดหุ้น
หนังสือพิมพ์
  มติชน
  ข่าวสด
  ไทยรัฐ
  เดลินิวส์
  voice tv
  สำนักข่าวอิศรา
  ผู้จัดการ
  แนวหน้า
  ไทยโพสต์
  บ้านเมือง
  โพสต์ทูเดย์
  สยามสปอร์ต
  เจาะลึกระบบสุขภาพ
  THE STANDARD
  the MATTER
  มุสลิมไทยโพสต์
  สยามธุรกิจ
  มติชนสุดสัปดาห์
  ไทยทริบูน Thai Tribune
  Bangkok Post
  ข่าวช่อง3
  เรียงเบอร์
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  ข่าวภูเก็ต
  theThaiger
  Phuket Wan
  ข่าวภูเก็ตออนไลน์
  เสียงใต้รายวัน
หางานทำที่ภูเก็ต
  ศูนย์รวมงานจังหวัดภูเก็ต
  สมัครงานที่ภูเก็ต
  หางานทำที่จังหวัดภูเก็ต
หนังสือพิมพ์เพื่อนบ้าน
  ซินหัวไทย
  BBC news / ไทย
  NIKKEI ASIA
  Vientianemai
  Pasaxon
  The Phnom Penh Post
  The Myanmar Times
  Myammar - now
  The Irrawaddy
  Thanh Nien News
  Hanoitimes
  malaysiakini
  The StraitsTimes
  New Straits Times
  Tha Jakatar Post
  The Jakarta Globe
  Inside Indonesia
  The Manila Times
  Phillippine Daily Inquirer
  Phillippine Times
มูลนิธิ สมาคม
  มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต
  มูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต
เรื่องน่าสนใจ
  สถิติโลก
  เวลาทั่วโลก
  รหัสไปรษณีย์ไทย
  การหาระยะทางจากเมืองสู่เมือง